ในการผลิตสัตว์
ต้นทุนส่วนใหญ่มาจากอาหารสัตว์ หากสามารถลดต้นทุนค่าอาหารให้ต่ำลงโดยที่อาหารนั้นยังคงมีคุณภาพสูงและมีสารอาหารทุกชนิดครบตามความต้องการของสัตว์จะทำให้ได้ผลรับผลตอบแทนจากการผลิตสัตว์มากขึ้น
วัตถุดิบอาหารสัตว์แต่ละชนิดมีสารอาหารหรือ สารอาหารไม่ครบทุกอย่างตามความต้องการของสัตว์
ดังนั้น การให้อาหารสัตว์ที่ดีจึงจำเป็นต้องมีการนำวัตถุดิบหลายชนิดหลายประเภทมาประกอบกัน
นำมาสร้างสูตรอาหารที่มีความสมดุล ของสารอาหาร และมีสารอาหารครบทุกชนิดตามความต้องการของสัตว์ตามตารางมาตรฐาน
และลดความสูญเสียในส่วนของสารอาหารที่เกินความต้องการ
เพื่อทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงจะทำให้การผลิตสัตว์ได้ผลกำไรเพิ่มมากขึ้น
ปัจจัยการเลือกใช้วัตถุดิบเพื่อประกอบสูตรอาหารสัตว์
เพื่อให้สูตรอาหารที่มีคุณภาพดี มีความสมดุลของสารอาหารตามต้องการของสัตว์
แต่ราคาเหมาะสม ควรพิจารณาปัจจัย ดังนี้
1. แหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบควรหาได้ง่ายและมีปริมาณมากในท้องที่
วัตถุดิบที่เลือกควรหาได้ง่ายในท้องถิ่น และมีใช้ตลอดทั้งปี
โดยเฉพาะอาหารหลักซึ่งได้แก่ อาหารที่เป็นแหล่งพลังงานจำเป็นต้องใช้
เป็นปริมาณมากในสูตรอาหาร แต่บางครั้งการคมนาคมที่สะดวกก็ทำให้สามารถเลือกใช้วัตถุดิบต่าง
ๆ นอกท้องที่ได้ง่ายและราคาไม่สูงก็ต้องนำมาพิจารณาด้วย
2. ราคา
วัตถุดิบควรมีราคาถูกแต่คุณภาพดี
อาหารสัตว์บางชนิดราคาขึ้นอยู่กับฤดูกาลผลิต ราคาอาจถูกในบางฤดูกาล
เช่น ข้าวโพดในช่วงปลายฝน และรำกับปลายข้าวจะมีราคาถูกในช่วง
ปลายหนาว
3. สารปนเปื้อน
วัตถุดิบควรปราศจากสารพิษหรือสารปนเปื้อน
วัตถุดิบที่มีสารพิษย่อมมีผลต่อการผลิตของสัตว์ ดังนั้น
ก่อนนำวัตถุดิบที่มีสารพิษมาใช้ ควรกำจัดหรือลดระดับสารพิษให้น้อยลง
จนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยแก่สัตว์เสียก่อน ส่วนการปนเปื้อนมักเกิดจากวิธีการเก็บรักษา
4. ลักษณะกายภาพ
วัตถุดิบควรมีลักษณะทางกายภาพที่ดี
เพื่อให้สัตว์ชอบกินและสามารถกินอาหารนั้นได้ตามความต้องการ
ลักษณะทางกายภาพที่ควรพิจารณา ได้แก่
4.1 ความเหนียว วัตถุดิบที่มีลักษณะเหนียวจะทำให้ได้อาหารผสมมีลักษณะเหนียวไปด้วย
อาหารนั้นจะมีความไม่น่ากินและกินยาก เช่น ปลายข้าวเหนียว
เมื่อสัตว์ปีกกินอาหาร ที่เหนียวจะติดหรือตกค้างอยู่ในส่วนของจงอยปากและลิ้น
อาจสะสมทำให้เกิดการติดเชื้อหรือ เน่าเปื่อยในส่วนของอวัยวะดังกล่าว
สัตว์ไม่ชอบรสชาดของอาหารที่มีลักษณะเหนียว ทำให้สัตว์
กินได้น้อย
4.2 ขนาดชิ้นส่วนอาหาร วัตถุดิบแต่ละชนิดที่ใช้ประกอบสูตรอาหารควรมีการเตรียมให้มีขนาดชิ้นส่วนที่เหมาะสมกับชนิด
และอายุของสัตว์ที่กินจะกินอาหารนั้นได้อย่างสะดวกสบาย
ส่วนใหญ่แล้วในการผสมอาหาร สัตว์มักจะบดอาหารให้ละเอียดเพราะย่อยได้ง่ายแต่ต้องเหมาะสมกับชนิดของสัตว์ด้วย
เนื่องจากถ้าละเอียดมากเกินไป สัตว์บางชนิดไม่ชอบกินและยังอาจก่ออันตรายต่อระบบทางเดินอาหารของสัตว์อีกด้วย
4.3 สี กลิ่น และรสชาด อาหารที่มีสี กลิ่นและรสชาดแปลก
ๆ ในบางครั้งสัตว์ อาจไม่ยอมกิน ต้องฝึกให้สัตว์เคยชินเสียก่อน
4.4 ความฟ่ามหรือความหนาแน่น สุกรและสัตว์ปีกไม่ชอบอาหารที่มีความฟ่ามมาก
แต่ในวัวนมหรือสัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถใช้ได้ เพราะระบบทางเดินอาหารขนาดใหญ่กว่าและ
รับอาหารได้มากกว่า ตลอดจนมีจุลินทรีย์ในกระเพาะช่วยย่อยสารเยื่อใยด้วย
ตารางที่
5.1 ความหนาแน่น (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์ฟุต)
ของวัตถุดิบอาหารสัตว์

ที่มา (ดัดแปลงจาก Reddy, 1988, p. 97)
5.
ผลกระทบต่อคุณภาพของผลผลิต
วัตถุดิบที่ใช้ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของผลผลิตหรือต่อความนิยมของตลาด
เช่น ทำให้ไขมันหรือเนื้อหมูเหลว หรือทำให้สีของไข่แดงผิดปกติ
เป็นต้น
6. ความสม่ำเสมอของคุณภาพของอาหาร
วัตถุดิบที่ใช้มีความสำคัญในการควบคุมคุณภาพของอาหารสัตว์
มิฉะนั้นจะต้อง ปรับสูตรอาหารอยู่บ่อย ๆ มีผลให้สัตว์ชะงักการกินอาหารได้
ลักษณะของสูตรอาหารที่ดี
ควรพิจารณาให้ได้สูตรอาหารที่มีลักษณะที่ดี
ดังนี้
1. ปริมาณสารอาหาร
สูตรอาหารที่ดี ควรมีสารอาหารครบทุกชนิด
และเพียงพอต่อความต้องการของสัตว์ ตามระยะการเจริญเติบโต
ขนาด ชนิดของสัตว์หรือชนิดของผลผลิต
2. ความสมดุลของสารอาหาร
มีความสมดุลของสารอาหารในอาหารสัตว์
ได้แก่ สัดส่วนของพลังงานต่อโปรตีน สัดส่วนของแร่ธาตุ
เช่น แคลเซียมต่อฟอสฟอรัส หรือความสมดุลของกรดอะมิโน
เป็นต้น
3. ความน่ากิน
สูตรอาหารนั้นควรมีความน่ากิน สัตว์มีความชอบกินและกินได้มากตามความต้องการ
4. การใช้ประโยชน์ได้
อาหารนั้นเมื่อสัตว์กินเข้าไปสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่
5. ปราศจากสารพิษ
ถ้ามีสารพิษก็ควรอยู่ในระดับที่ไม่มีผลกระทบต่อการผลผลิต
ตารางที่ 5.2 ปริมาณของสารที่อาจเป็นพิษต่อสัตว์ในอาหารที่ใช้สำหรับสัตว์กระเพาะรวม

ที่มา (ดัดแปลงจาก Devendra, 1988, p. 13)
6.
ผลที่มีต่อคุณภาพ
ผลผลิตที่ได้จากการใช้อาหารไม่ควรมีผลเสีย
เช่น มีกลิ่นจากการใช้วัตถุดิบหรือกระทบต่อการให้ผลผลิตและมีคุณภาพซากที่ดีตรงตามความต้องการของตลาด
7. ราคา
เป็นสูตรอาหารที่ราคาประหยัด เพื่อให้มีกำไรสุทธิในการผลิตสัตว์สูง
หลักการประกอบสูตรอาหารสัตว์
การประกอบสูตรอาหารนั้น มีปัจจัยที่ควรพิจารณา ดังนี้
1. ปัจจัยที่ควรทราบ
ปัจจัยในการประกอบสูตรอาหารเพื่อหาสัดส่วนของวัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดต่าง
ๆ ที่จะนำมาผสมเข้าด้วยกัน สิ่งที่ควรทราบ คือ
1.1 ความต้องการสารอาหารของสัตว์แต่ละชนิด (nutrient
requirement) ในแต่ละช่วงของการเจริญเติบโต หรือแต่ละประเภทของผลผลิต
ซึ่งหาได้จากตารางมาตรฐานความต้องการ
1.2 ส่วนประกอบทางสารอาหาร (nutrient composition)
ของวัตถุดิบชนิดต่าง ๆ ที่จะนำมาใช้ประกอบสูตรอาหาร
ซึ่งได้จากการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการหรือจากเอกสารอ้างอิง
1.3 รู้จักลักษณะทางกายภาพและทางชีวภาพของวัตถุดิบ
ที่จะนำมาใช้ในการประกอบสูตรอาหาร เพราะลักษณะดังกล่าวจะช่วยบ่งบอกให้ทราบถึงปริมาณที่จำกัดในการใช้
เช่น วัตถุดิบที่มีความฟ่ามมาก สัตว์กระเพาะเดี่ยวไม่ควรใช้มากจนเกินไป
วัตถุดิบที่มีสารพิษ ควรใช้ในปริมาณที่ไม่มีผลกระทบต่อสัตว์
หรือวัตถุดิบบางชนิดอาจใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ หรือย่อยยากไม่ควรใช้มากเกินไป
เป็นต้น
1.4 ปริมาณของวัตถุดิบที่ควรใช้ในสูตรอาหาร
หน้า
1
2 3
4 5
6 7