1. การกำหนดราคาตามสภาพภูมิศาสตร์ (geographical pricing) เป็นการกำหนดราคาโดยพิจารณาต้นทุนค่าขนส่งในการขนย้ายสินค้าจากผู้ขายไปให้กับผู้ซื้อซึ่งอยู่ตามท้องที่ต่าง ๆ กัน ทำให้การกำหนดราคาสินค้าในพื้นที่ใกล้หรือไกลมีความไม่เท่ากัน ปัญหาก็คือ ภาระค่าขนส่งนี้จะให้ใครเป็นผู้รับผิดชอบ แนวทางปฏิบัติที่นักการตลาดใช้กันอยู่มีด้วยกัน 5 รูปแบบ
1.1 การกำหนดราคาขาย ณ จุดผลิต (F.O.B point of production pricing)
1.2 การกำหนดราคาเดียวกันทุกแห่ง (uniform delivered pricing)
1.3 การกำหนดราคาเป็นเขตพื้นที่ (zone pricing)
1.4 การกำหนดราคาจากจุดฐาน (base on -point pricing)
1.5 การกำหนดราคาแบบผู้ขายรับภาระค่าขนส่งเสียเอง (freighted absorption)
2. การให้ส่วนลดและส่วนยอมให้ (price discount and allowance)
ส่วนลด (discount) หมายถึง ส่วนที่หักลดจากราคาที่กำหนดในรายการซึ่งผู้ขายลดให้กับผู้ซื้อ สำหรับการทำหน้าที่ทางการตลาดบางอย่างแทนผู้ขาย เช่น ส่วนลดปริมาณ ส่วนลดการค้า ส่วนลดเงินสด เป็นต้น
ส่วนยอมให้ (allowance) หมายถึง ส่วนที่ลดให้กับผู้บริโภค ลูกค้า หรือคนกลาง สำหรับการกระทำบางอย่างหรือการยอมรับบางอย่างที่น้อยกว่าเกณฑ์ปกติ โดยปกติมักเป็นส่วนลดที่ให้กับผู้ซื้อเพื่อทำการส่งเสริมการตลาดให้กับผู้ขาย หรือการที่ผู้ซื้อยอมรับสินค้าที่ด้อยคุณภาพของผู้ขาย
ประเภทของส่วนลดและส่วนยอมให้
2.1 ส่วนลดปริมาณ (quantity discount) เป็นราคาที่ผู้ขายยอมลดราคาให้กับผู้ซื้อโดยหักออกหลังจากเมื่อซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก การให้ส่วนลดแบบนี้ทำให้ผู้ซื้อต้องซื้อจากผู้ขายรายใดรายหนึ่งเป็นจำนวนมาก มิฉะนั้นจะไม่ได้ส่วนลด
2.1.1 ส่วนลดปริมาณแบบสะสม (cumulative quantity discount)
2.1.2 ส่วนลดปริมาณแบบไม่สะสม (non cumulative quantity discount) 2.2 ส่วนลดการค้า (trade discount) เป็นส่วนลดที่ผู้ขายยอมให้หักออกจากราคาขายเพื่อเป็นผลตอบแทนการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในช่องทางการจัดจำหน่ายของคนกลาง
2.3 ส่วนลดเงินสด (cash discount)
2.4 ส่วนลดตามฤดูกาล (seasonal discount)
2.5 ส่วนยอมให้สำหรับการส่งเสริมการตลาด (promotional allowances)
2.6 ส่วนยอมให้จากการนำสินค้าเก่ามาแลก (trade in allowance)
3. การกำหนดราคาตามหลักจิตวิทยา (psychological pricing) เป็นการตั้งราคาที่คำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภคที่มีต่อราคาตามหลักจิตวิทยา
3.1 การตั้งราคารวมห่อ (bundle pricing)
 
3.2 การตั้งราคาแบบเปรียบเทียบ (reference pricing)
 
3.3 การตั้งราคาเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดี (prestige pricing)
 
3.4 การตั้งราคาเลขคู่และเลขคี่ (odd even pricing)

3.5 การตั้งราคาชุดของผลิตภัณฑ์ (product set pricing)
 
4. การกำหนดราคาเดียวกับหลายราคา (one pricing and flexible pricing)
4.1 การตั้งราคาเดียว (one-pricing) เป็นการกำหนดราคาที่ผู้ขายคิดจากลูกค้าทุกรายในราคาเท่ากันสำหรับการซื้อสินค้าในปริมาณที่เท่ากัน
4.2 การตั้งหลายราคา (flexible pricing) เป็นการคิดราคาสินค้าของผู้ขายสำหรับลูกค้าประเภทเดียวกันในราคาต่างกันจากการซื้อสินค้าในปริมาณที่เท่ากัน
5. การกำหนดราคาตามสายผลิตภัณฑ์ (product line pricing)
5.1 การตั้งราคาตามแนวระดับราคา (price lining pricing) การตั้งราคาที่แตกต่างกันเป็นระดับจากสูงลงมาถึงต่ำ สำหรับผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันแต่ต่างรุ่น
5.2 การตั้งราคาสินค้าที่ใช้ร่วมกัน (pricing complementary product) การตั้งราคาสินค้าที่ใช้ร่วมกันสองอย่าง โดยจะตั้งราคาสินค้าหลักต่ำและตั้งราคาสินค้าที่ใช้ร่วมกันสูงเพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าทั้งสองอย่างร่วมกัน เช่น กาแฟและคอฟฟี่เมต
6. การตั้งราคาเหยื่อล่อ (bait pricing)
7. การตั้งราคาล่อใจ (loss leader pricing)
8. การกำหนดราคาสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ (new product pricing)
8.1 การตั้งราคาระดับสูง (market skimming pricing) เป็นการแบ่งตลาดออกเป็นส่วน ๆ แล้วกำหนดราคาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้สูง นำไปเสนอในส่วนตลาดที่จะทำให้บริษัทได้กำไรมากที่สุดก่อน
8.2 การตั้งราคาเจาะตลาด (penetration pricing) เป็นการกำหนดราคาให้ต่ำไว้ก่อนเพื่อดึงดูดใจให้ตลาดทั้งหมดหรือส่วนมากหันมาซื้อโดยเร็ว
9. นโยบายระดับราคา (price level policies) เป็นนโยบายการตั้งราคาที่ต้องเปรียบเทียบกับระดับราคาของคู่แข่งขันหรือระดับราคาตลาด
9.1 การตั้งราคา ณ ระดับราคาตลาด (pricing at the market)
9.2 การตั้งราคา ณ ระดับต่ำกว่าราคาตลาด (pricing blow the market)
9.3 การตั้งราคา ณ ระดับสูงกว่าราคาตลาด (pricing above the market)
|